6 วิธีป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ที่มากับหน้าฝน สำหรับผู้ปกครองมาฝากกันค่ะ...อ่านข้อมูลเพิ่มเติม
ป้องกันได้...ด้วยการล้างมือ ล้างมือด้วยสบู่และน้ำสะอาดบ่อยๆ หรือก่อนหยิบจับอาหารให้เด็กรับประทาน... อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี้
“โรคตาแดง” หรือที่ทางการแพทย์เรียกว่า “โรคเยื่อตาขาวอักเสบ” (Conjunctivitis, pink eye) นั้น เป็นการอักเสบของชั้นเนื้อเยื่อใสที่คลุมอยู่บนตาขาว ซึ่งจะมีการเปลี่ยนเป็นสีแดงอ่อนหรือแดงจัด จากการอักเสบและเส้นเลือดฝอยขยายตัว...อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี้
โรคไข้อีดำอีแดง เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย สเตรปโตคอคคัสชนิดเอ แต่โรคที่เกิดจากเชื้อชนิดนี้จะมีอาการไม่รุนแรง...อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี้...
โรคอีสุกอีใสเมื่อเป็นแล้วมีโอกาสเป็นโรคงูสวัด ในภายหลังได้...อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี้
กรมควบคุมโรค สำนักโรคติดต่อทั่วไป กระทรวงสาธารณสุข เผยปี 2559 พบผู้ป่วยโรคมือเท้าปาก 2,422 คน จาก 77 จังหวัด อัตราป่วย 26.84 ต่อแสนประชากร สัดส่วนเพศชายต่อเพศหญิง 1:0.73 ภาคเหนือมีอัตราป่วยสูงสุด 43.76 ต่อแสนประชากร รองลงมาภาคกลาง 32.09 ต่อแสนประชากร การระบาดของโรคมือเท้าปาก ปีระบาด 2 ช่วงคือฤดูหนาว และฤดูฝน กำชับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาล ป้องกันควบคุมโรคตามมาตรการของกรมควบคุมโรคอย่างเคร่งครัด เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยและเสียชีวิต ข้อมูลการเฝ้าระวังโรคของสำนักระบาดวิทยา ทั้งนี้ สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค ได้วิเคราะห์ข้อมูลการระบาดของปี 2558 ทั่วประเทศพบผู้ป่วยโรคมือเท้าปาก 40,517 คน เสียชีวิต 3 ราย ได้มีการเร่งรัดควบคุมป้องกันโรคอย่างเข้มข้นตลอดปี ทำให้ลดจำนวนผู้ป่วยในช่วงฤดูฝนเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม ลงได้ในระดับหนึ่ง แต่ยังพบการระบาดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ตุลาคมจนถึงสิ้นปี และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาในช่วงต้นปี 2559 ระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ โดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือและภาคใต้ตอนบน ซึ่งมีการระบาดต่อเนื่องมาจากปลายปี 2558 โดยปัจจัยที่ส่งเสริมการระบาดของโรคมือเท้าปากนั้น ส่วนหนึ่งมาจากสภาพอากาศที่หนาวเย็น ทำให้ประชาชนละเลยการล้างมือ รวมทั้งการมีฝนตกชุกในพื้นที่ภาคใต้ เชื้อโรคเจริญเติบโตได้ดี กำชับให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ เร่งรัดรณรงค์ขอความร่วมมือศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาลในพื้นที่ ดำเนินการป้องกันควบคุมโรค ตามมาตรการของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้มีเด็กป่วยและเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้นในปี 2559 ขอความร่วมมือศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาลดำเนินการดังนี้ 1. ตรวจคัดกรองเด็กเป็นประจําทุกวันในตอนเช้า 2. แยกเด็กป่วยออกจากเด็กปกติ โดยให้ผู้ปกครองรับกลับบ้าน 3. หลีกเลียงไม่ให้เด็กป่วยเล่นคลุกคลีกับเด็กปกติ และเมื่อป่วยควรพักรักษาอยู่ที่บ้าน 4. ให้เด็กล้างมือบ่อยๆ หรือทุกครั้งที่สัมผัสสิ่งสกปรก ปนเปื้อนเชื้อโรค ได้แก่ ก่อนรับประทานอาหารหลังเข้าห้องส้วม ก่อนและหลังทํากิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ ทําความสะอาดอุปกรณ์ เครื่องมือ ของใช้ ของเล่น เป็นประจําทุกสัปดาห์ และทุกครั้งที่พบมีเด็กป่วย 5. หากพบเด็กป่วยเป็นโรคมือเท้าปาก ให้แจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขใกล้บ้านทันที โรคมือ เท้า และปาก เกิดจากเชื้อเอนเทอโรไวรัส ผู้ป่วยจะมีไข้ มีจุดหรือผื่นแดงอักเสบในปาก ที่ลิ้น เหงือก กระพุ้งแก้ม และเกิดผื่นแดง ตุ่มพองใสรอบๆ แดงที่บริเวณฝ่ามือ นิ้วมือ และฝ่าเท้า โรคนี้รักษาตามอาการ ได้แก่ การให้ยาลดไข้ กระตุ้นให้รับประทานอาหาร ให้อาหารเหลวหรืออาหารที่มีอุณหภูมิต่ำ เช่น ไอศกรีม ให้ยาทาแผลในปาก เป็นต้น โดยทั่วไปผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นภายใน 5-7 วัน ในเด็กทารกและเด็กเล็กอายุตํ่ากว่า 5 ปี บางรายอาจมีอาการแทรกซ้อนรุนแรง เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ก้านสมองอักเสบ ปอดบวมนํ้า กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และระบบหัวใจและระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลว ทําให้เสียชีวิต ได้สัญญาณอันตรายได้แก่ ไข้สูงไม่ลดลง ซึม อาเจียนบ่อย หอบ และแขนขาอ่อนแรง เกิดภาวะอัมพาตคล้ายโปลิโอ ให้รีบพบแพทย์ทันที
ขณะนี้ เริ่มเข้าสู่ฤดูฝน อากาศเย็นและชื้น เอื้อต่อการเจริญเชื้อโรคต่างๆ ที่เป็นห่วงคือ โรคมือ เท้า ปาก (Hand Foot Mouth Disease) ซึ่งพบได้ตลอดปี แต่จะพบมากในช่วงฤดูฝน ประกอบกับช่วงนี้โรงเรียนต่างๆ เริ่มเปิดเทอม เด็กๆ จะมาอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก จึงมีโอกาสเกิดการระบาดของโรคนี้ได้ง่าย โดยเฉพาะในเด็กเล็ก ซึ่งระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ำ จากการติดตามประเมินสถานการณ์ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคมือ เท้า ปาก สูงขึ้นทุกปี และในปี 2558 พบผู้ป่วยทั้งสิ้น 40,517 ราย คิดเป็นนอัตราป่วย 62.21 ต่อแสนประชากร มีผู้เสียชีวิต 3 ราย และในปี 2559 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 24 เมษายน 2559 มีรายงานพบผู้ป่วยโรคมือ เท้า ปาก จำนวน 10,628 ราย อัตราป่วย 16.24 ต่อแสนประชากร ส่วนใหญ่พบในเด็กเล็กซึ่งในเด็กมากกว่า ๒ ใน ๓ ที่ป่วยเป็นโรคมือ เท้า ปาก เป็นเด็กที่อยู่ในศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาล ซึ่งเป็นฤดูกาลระบาดของโรคเป็นประจำทุกปี
การไปโรงเรียนหรือสถานรับเลี้ยงเด็ก ทำให้เด็กๆ ในวัย 3 - 6 ปี เจ็บป่วยได้ง่าย เพราะโรงเรียนก็ถือเป็นแหล่งรวมโรคภัยไข้เจ็บด้วย แม้บางครั้งจะไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่ก็ส่งผลต่อสุขภาพและการเติบโตของเด็กด้วย การป้องกันดูแลจะช่วยให้เด็กๆ ไปโรงเรียนได้อย่างสนุกสนาน ปลอดภัยจากโรคภัย การเจ็บป่วยของเด็กๆ ที่พบได้ มี 3 ประเภทด้วยกัน คือ 1.โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ ได้แก่ โรคหวัด การอักเสบของจมูก คอ หูชั้นกลาง และหลอดลม 2.โรคที่ติดต่อจากการสัมผัสทางผิวหนัง เช่น หิด เหา 3.โรคทางเดินอาหาร เช่น อาหารเป็นพิษ ท้องเสีย และพยาธิลำไส้ นอกจากนี้ โรคที่เด็กวัยนี้เป็นกันบ่อยๆ คือ โรคสุกใส (อีสุกอีใส) โรคตาแดง และโรคฮิตอีกหนึ่งโรคซึ่งไม่ใช่โรคติดต่อ แต่เด็กสมัยนี้มักเป็นกัน คือ โรคอ้วน ส่วนโรคอันตรายอย่างเช่น โรคมือ-เท้า-ปาก ก็อาจทำให้เสียชีวิตได้ โรคตาแดง เป็นอาการอักเสบของเยื่อตา ที่เกิดจากเชื้อไวรัสในกลุ่ม อะดีโนไวรัส (Adenovisus) และ เอนเทโรไวรัส (Enterovisus) ว่า โรคตาแดงหรือ ตาแดงชนิดติดต่อ โรคนี้ติดต่อได้ง่าย มักจะมีการระบาดเป็นครั้งคราว การระบาดแต่ละครั้ง จะมีผู้คนติดโรคจำนวนมาก สามารถพบผู้ป่วยโรคนี้ได้ตลอดปี ซึ่งพบบ่อยและติดต่อได้ง่ายในเด็กที่อยู่รวมกันหลายคน เช่น ในโรงเรียน เป็นต้น การติดต่อ เกิดจากการอักเสบแบบไม่ติดเชื้อและติดเชื้อ ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งจะติดต่อด้วยการสัมผัสสิ่งคัดหลั่งของผู้ที่ป่วยทั้งทางตรงและทางอ้อม อาการ เมื่อได้รับเชื้อ อาจเกิดอาการตาแดงในวันรุ่งขึ้นไปจนถึง 2 สัปดาห์ รู้สึกระคายเคืองในตา น้ำตาไหล ตาแดง มีความรู้สึกคล้ายมีผง มักเป็นข้างเดียวก่อน ถ้าไม่ระวังอาจลามไปอีกข้างได้ อาการจากการติดเชื้อไวรัส มีอาการหนังตาบวมแดง บริเวณเยื่อตาอาจพบเป็นตุ่มเล็กๆ กระจายไปทั่ว โดยทั่วไปมีน้ำตาออกมาเป็นน้ำใสๆ หรือเป็นเมือกเล็กน้อย หากติดเชื้อแบคทีเรียจะมีขี้ตาข้นๆ คล้ายหนอง บางรายมีจุดเลือดเล็กๆ กระจาย บางรายอาจพบเป็นปื้นใหญ่ เป็นที่มาของคำว่า เลือดออกในตาร่วมกับตาแดง ซึ่งหมายถึง มีการอักเสบของเยื่อตาร่วมกับมีเลือดออกด้วย ผู้ป่วยบางรายอาจมีน้ำตาไหล โดยน้ำตามีเลือดปนจนทำให้ผู้ป่วยตกใจว่ามีเลือดออกได้ และผู้ที่เป็นมากๆ อาจมีขี้ตาปนเมือกจนเป็นแผ่นติดเยื่อตาได้ ความผิดปกติทั้งหมดของโรคตาแดงจากเชื้อไวรัส จะอยู่ที่หนังตาและเยื่อตาเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับ ตาดำ จึงไม่มีผลต่อการมองเห็น โรคตาแดงจากเชื้อไวรัส มักจะพบการอักเสบ เป็นอาการต่อมน้ำเหลืองด้านหน้าใบหูโตร่วมด้วย บางรายอาจมีไข้ร่วมด้วย อาการตาแดงจะค่อยๆ หายไปในเวลาประมาณ 7 วัน บางคนอาจหายเป็นปกติเลย ในกรณีที่การอักเสบอาจลุกลามเข้าตาดำ เกิดการอักเสบของตาดำเป็นจุดกระจายเล็กๆ ซึ่งระยะนี้อาจทำให้ตามัวลงได้เล็กน้อย และคงอยู่ราว 1 - 2 สัปดาห์ และจะค่อยๆ หายไป การดูแลรักษา หากมีอาการมาก ควรไปพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาให้ถูกต้อง หากเป็นตาแดงที่เกิดจากเชื้อไวรัส ยังไม่มียาที่ฆ่าเชื้อไวรัสได้โดยตรง จึงใช้ยาหยอดตาที่เป็นยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย และอาจใช้น้ำตาเทียมร่วมกับยาลดอาการระคายเคือง ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำเย็น ช่วยประคบ ช่วยให้การระคายเคืองตาน้อยลง ผู้ป่วยบางรายมีอาการเจ็บตาเคืองตามาก แพทย์อาจสั่งยาหยอดตาประเภทที่มียาสเตียรอยด์ร่วมกับยาปฏิชีวนะให้ชั่วคราว แนะนำให้ลดการใช้สายตาเมื่อป่วยเป็นโรคตาแดง เพื่อไม่ให้เคืองตาหรือน้ำตาไหลมากขึ้น หลีกเลี่ยงการใช้ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าห่ม ร่วมกับผู้อื่น ตามปกติโรคตาแดงที่จากติดเชื้อไวรัส จะหายได้เองใน 1 - 2 สัปดาห์ ป้องกัน พยายามล้างมือให้สะอาดก่อนนำมาขยี้ตา จับใบหน้า หรือจับสิ่งของเช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว และอื่นๆ หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับขี้ตา น้ำตา และไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้ที่เป็นตาแดง หลีกเลี่ยงการอยู่รวมกลุ่มกับคนจำนวนมากในที่แออัด เช่น ห้างสรรพสินค้า โรงเรียน ในช่วงที่เชื้อโรคแพร่ระบาด หรือไม่คลุกคลีกับผู้ที่เป็นตาแดง กันผู้ป่วยออกจากกลุ่ม เด็กที่ป่วยอาจจะต้องหยุดเรียนจนกว่าจะหาย หมายเหตุ : การซื้อยาหรือน้ำยาสำหรับหยอดตา ต้องปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรที่ชำนาญเท่านั้น
กรมควบคุมโรค โดยสำนักโรคติดต่อทั่วไป ได้จัดทำระบบการเรียนรู้ออนไลน์ด้วยตนเอง (E – Learning) สำหรับครูและผู้ดูแลเด็ก เรื่องการป้องกันควบคุมโรคติดต่อในศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาลผ่านทางเวปไซด์ http://demo.favouritedesigh.com/healthypreschool/home ศูนย์เด็กเล็กโรงเรียนอนุบาลปลอดโรค โดยผู้เรียนสามารถเข้าไปศึกษาและทดสอบวัดผลการเรียนรู้ พร้อมทั้งรับประกาศนียบัตรรับรองผลการประเมินตนเองในระบบ เมื่อผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งผู้สนใจสามารถเข้าไปเรียนรู้ได้โดยไม่จำกัดเวลา จึงประชาสัมพันธ์มาให้ทราบโดยทั่วกัน
กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุขของประเทศไทย ได้ให้คำแนะนำการดูแลสุขภาพเพื่อให้ห่างไกลจากการติดเชื้อไวรัสโรคมือเท้าปาก ดังนี้ วิธีการป้องกันโรคนี้ที่สำคัญคือ การแยกผู้ป่วยให้ห่างจากแหล่งชุมชน และการรักษาสุขอนามัยของสิ่งแวดล้อม เนื่องจากโรคนี้มักระบาดในเด็กเล็กที่อยู่รวมกันในโรงเรียนหรือสถานรับเลี้ยงเด็ก จึงเน้นเรื่องการล้างมือ การทำความสะอาดของเล่น การทำความสะอาดอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม เด็กป่วยควรให้อยู่บ้านไม่ควรปล่อยให้มาเล่นกับเด็กคนอื่น บางครั้งอาจจำเป็นต้องปิดโรงเรียนหรือสถานเลี้ยงเด็กชั่วคราวถ้าพบว่ามีการระบาดมากขึ้น หากบุตรหลานมีอาการป่วย ควรทำอย่างไร ควรแยกเด็กป่วยเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่ไปยังเด็กคนอื่น ผู้ปกครองควรรีบพาเด็กไปพบแพทย์ และรักษาตัวที่บ้านอย่างน้อย 5 - 7 วัน หรือจนกว่าจะหายเป็นปกติ ระหว่างนี้ควรสังเกตอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น แต่หากเด็กมีอาการแทรกซ้อน เช่น ไข้สูง ซึม อาเจียน หอบ ต้องรีบพากลับไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลทันที ไม่ควรพาเด็กไปสถานที่แออัด เช่น สนามเด็กเล่น สระว่ายน้ำ ตลาด และห้างสรรพสินค้า ควรให้เด็กอยู่ในที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวก ควรใช้ผ้าปิดจมูกปากขณะไอจาม และระมัดระวังการไอจามรดกัน ผู้ดูแลเด็กต้องหมั่นล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังจากสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย หรืออุจจาระของเด็กที่ป่วย หากมีเด็กป่วยจำนวนมากในโรงเรียน หรือสถานรับเลี้ยงเด็ก ควรทำอย่างไร มาตรการช่วงที่เกิดโรคระบาดต้องเน้นการสกัดกั้นการแพร่กระจายของเชื้อ ซึ่งอาจจำเป็นต้องประกาศเขตติดโรคและปิดสถานที่ที่มีการระบาด เช่น สถานรับเลี้ยงเด็กอ่อน โรงเรียนเด็กเล็ก อาจรวมถึงสระว่ายน้ำ และสถานที่แออัดอื่นๆ ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับเด็กป่วย และควรเน้นการล้างมือบ่อยๆ รวมทั้งการใช้น้ำยาฆ่าเชื้อในโรงพยาบาลและบ้านเรือนที่มีผู้ป่วย ผู้บริหารโรงเรียนหรือผู้จัดการสถานรับเลี้ยงเด็ก ควรดำเนินการดังนี้ แจ้งการระบาดไปที่หน่วยงานบริการสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ไปสอบสวนการระบาด ให้ความรู้ และคำแนะนำ เผยแพร่คำแนะนำ เรื่องโรคมือเท้าปาก แก่ผู้ปกครองและเด็กนักเรียน รวมทั้งส่งเสริมพฤติกรรมอนามัยที่ช่วยป้องกันโรคติดต่อ โดยเฉพาะการล้างมือและการรักษาสุขอนามัยของสภาพแวดล้อมและควรแยกของใช้ไม่ให้ปะปนกัน เช่น แก้วน้ำ ช้อนอาหาร ฯลฯ เฝ้าระวังโดยตรวจเด็กทุกคน หากพบผู้ที่มีอาการโรคมือเท้าปาก ต้องรีบแยกและให้หยุดเรียนประมาณ 2 สัปดาห์ หรือจนกว่าจะหายป่วย เพื่อป้องกันไม่ให้แพร่เชื้อไปยังเด็กคนอื่น ควรรีบพาเด็กป่วยไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาโดยเร็ว และดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด พิจารณาปิดห้องเรียนที่มีเด็กป่วย กรณีที่มีเด็กป่วยหลายห้องหรือหลายชั้นเรียนควรปิดโรงเรียนชั่วคราวอย่างน้อย 5 - 7 วัน หากพบการระบาดของโรคมือเท้าปาก หรือ มีผู้ป่วยติดเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 อยู่ภายในโรงเรียนหรือศูนย์เด็กเล็ก แนะนำให้ปิดชั้นเรียนที่มีเด็กป่วยมากกว่า 2 คน หากมีการป่วยกระจายในหลายชั้นเรียนแนะนำให้ปิดโรงเรียนเป็นเวลา 5 วัน พร้อมทำความสะอาดอุปกรณ์รับประทานอาหาร ของเล่นเด็ก ห้องน้ำ สระว่ายน้ำและให้มั่นใจว่าน้ำมีระดับคลอรีนที่ไม่ต่ำกว่ามาตรฐาน ทำความสะอาดสถานที่เพื่อฆ่าเชื้อโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณห้องน้ำ สระว่ายน้ำ โรงครัว โรงอาหาร บริเวณที่เล่นของเด็ก สนามเด็กเล่น โดยใช้สารละลายเจือจางของน้ำยาฟอกขาวผสมในอัตราส่วน 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 1 ลิตร หรือใช้น้ำยาทำความสะอาดที่ใช้ตามบ้านเรือน แล้วเช็ดด้วยน้ำสะอาด ทำความสะอาดของเล่นและเครื่องใช้ของเด็กด้วยการซักล้างแล้วผึ่งแดดให้แห้ง ไม่ควรใช้เครื่องปรับอากาศ แต่แนะนำให้ระบายอากาศโดยการเปิดประตู หน้าต่าง ผ้าม่าน ให้แสงแดดส่องได้ทั่วถึง แหล่งอ้างอิง 1.http://www.bangkokhealth.com/index.php/health/health-year/children/2167-hand-foot-and-mouth-disease.html
แนะศูนย์เด็กเล็ก ป้องกันโรคมือเท้าปาก สาธารณสุขเฝ้าระวังศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียน อนุบาล ป้องกันโรคมือเท้าปากระบาด ชี้ปัจจัยเสี่ยงมาจากสภาพอากาศแปรปรวนทำให้ เชื้อโรคเจริญเติบโตได้ดี ข้อมูลการเฝ้าระวังโรคของ สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรคเดือนแรกของปี 2559 พบผู้ป่วยโรคมือเท้า 5,360 คน จาก 76 จังหวัด ภาคกลางมีอัตราป่วยสูงสุด รองลงมา ภาคเหนือ ภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มอายุที่พบมากที่สุด 1-3 ปี ทั้งนี้ สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค ได้วิเคราะห์ข้อมูลการระบาดของปี 2558 ทั่วประเทศ พบผู้ป่วยโรคมือเท้าปาก 40,517 คน เสียชีวิต 3 ราย ได้มีการเร่งรัดควบคุมป้องกันโรคอย่างเข้มข้นตลอดปี ทำให้ลดจำนวนผู้ป่วยในช่วงฤดูฝน เดือนพฤษภาคม -สิงหาคม ลงได้ในระดับหนึ่ง แต่ยังพบการระบาดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ตุลาคมจนถึงสิ้นปี และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาในช่วงต้นปี 2559 ระหว่างเดือนมกราคม- กุมภาพันธ์ โดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือและภาคใต้ตอนบน ซึ่งมีการระบาดต่อเนื่องมาจากปลายปี 2558 โดยปัจจัยที่ ส่งเสริมการระบาดของโรค มือเท้าปากนั้น ส่วนหนึ่งมาจากสภาพอากาศที่แปรปรวนรวมทั้งการมีฝนตกชุกในพื้นที่ภาคใต้ เชื้อโรคเจริญเติบโตได้ดี กำชับให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ เร่งรัดรณรงค์ขอความร่วมมือศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงเรียนอนุบาลในพื้นที่ ดำเนินการป้องกันควบคุมโรค ตามมาตรการของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้มีเด็กป่วยและเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้นในปี 2559 ทั้งนี้ ขอความร่วมมือศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาลดำเนินการ ดังนี้ 1.ตรวจคัดกรองเด็ก เป็นประจำทุกวันในตอนเช้า 2.แยกเด็กป่วยออกจากเด็กปกติ โดยให้ผู้ปกครองรับกลับบ้าน 3.หลีกเลี่ยง ไม่ให้เด็กป่วยเล่นคลุกคลีกับเด็กปกติ และเมื่อป่วยควรพักรักษาอยู่ที่บ้าน 4.ให้เด็กล้างมือบ่อยๆ หรือทุกครั้งที่สัมผัสสิ่งสกปรก ปนเปื้อนเชื้อโรค ได้แก่ ก่อนรับประทานอาหารหลังเข้าห้องส้วมก่อนและหลังทำกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ ทำความสะอาดอุปกรณ์ เครื่องมือ ของใช้ ของเล่น เป็นประจำ ทุกสัปดาห์ และทุกครั้งที่พบมีเด็กป่วย 5.หากพบเด็กป่วยเป็นโรคมือเท้าปาก ให้แจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขใกล้บ้านทันที
โรคมือเท้าปาก เกิดจากอะไร? ทำไม? โรคมือเท้าปาก ถึงมีการระบาดในช่วงฤดูฝนโดยเฉพาะกับเด็กเล็ก เช็กอาการของโรคนี้พร้อมกันดีกว่า...อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี้
โรค ไข้สมองอักเสบอาจเกิดจากเชื้อไวรัสได้หลายชนิด แต่ที่พบในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะเกิดจากเชื้อไวรัส Japanese encephalitis (JE) ซึ่งทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ อัตราป่วยตาย อยู่ระหว่างร้อยละ 20-30 ประมาณสองในสามของผู้รอดชีวิต จะมีความพิการเหลืออยู่ โรคนี้นำโดยยุง คิวเล็กซ์ สาเหตุ เกิดจาก Japanese encephalitis virus ซึ่งจัดอยู่ในตระกูล Flaviviridae และอยู่ในกลุ่มเดียวกับ dengue virus ระบาดวิทยา โรคนี้ติดต่อกันได้โดยมียุง Culex tritaeniorhynchus เป็นตัวนำที่สำคัญ ยุงนี้เพาะพันธุ์ในท้องนาที่มีน้ำขัง หมูเป็นรังโรคที่สำคัญ หมูที่ติดเชื้อ JE จะไม่มีอาการ แต่มีเชื้อ JE ในเลือดเมื่อยุงไปกัดหมูในระยะนี้ เชื้อจะเข้าไปเพิ่มจำนวนในยุง เมื่อมากัดคนจะแพร่เชื้อเข้าสู่คน สัตว์อื่นๆ ที่จะติดเชื้อ JE ได้แก่ ม้า วัว ควาย นก แต่สัตว์เหล่านี้จะไม่มีอาการมีแต่ม้าและคนเท่านั้น เมื่อได้รับเชื้อแล้วประมาณ 1 ใน 300-500 ของผู้ติดเชื้อจะมีอาการสมองอักเสบ หมูมีความสำคัญในวงจรการแพร่กระจายของโรค เพราะจะมีเชื้ออยู่ในกระแสเลือดได้นานกว่าสัตว์อื่นๆ จึงจัดว่าเป็น amplifier ที่เป็นรังโรคที่สำคัญ ส่วน ใหญ่จะพบโรคนี้ได้ในเด็ก ช่วงอายุที่พบบ่อยคือ 5-10 ปี และพบโรคนี้ได้ชุกชุมในฤดูฝน ในประเทศไทยจะพบโรคนี้ได้ในภาคเหนือมากกว่าภาคอื่นๆ ระยะฟักตัวของโรค 1-2 สัปดาห์ หลังจากถูกยุงที่มีเชื้อกัด อาการและอาการแสดง ส่วน ใหญ่ของผู้ที่ติดเชื้อจะไม่มีอาการ มีเพียง 1 ใน 300-500 คนเท่านั้นที่จะมีอาการสมองอักเสบ ซึ่งจะเริ่มด้วยมีไข้ ปวดเมื่อย อ่อนเพลีย ต่อไปอาการปวดศีรษะจะมากขึ้น มีอาการอาเจียน ง่วงซึมจนไม่รู้สึกตัว บางรายอาจมีอาการเกร็งชักกระตุกด้วย อาจมีอาการหายใจไม่สม่ำเสมอ ในรายที่เป็นรุนแรงมากจะถึงแก่กรรมประมาณวันที่ 7-9 ของโรค ถ้าพ้นระยะนี้แล้วจะผ่านเข้าระยะฟื้นตัว ระยะเวลาของโรคทั้งหมดประมาณ 4-7 สัปดาห์ เมื่อหายแล้วประมาณร้อยละ 60 ของผู้ป่วยจะมีความพิการเหลืออยู่ เช่น อัมพาตแบบแข็งเกร็ง (spastic) ของแขนขา มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง มีสติปัญญาเสื่อม จึงนับว่าเป็นโรคที่มีความสำคัญทางด้านการแพทย์และการสาธารณสุขโรคหนึ่ง การวินิจฉัยโรค จาก อาการทางคลินิกที่มีไข้และมีอาการซึม หมดสติ และมีชัก ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงในน้ำไขสันหลัง จะให้การวินิจฉัยได้ว่าเป็นโรคสมองอักเสบ แต่จะบอกสาเหตุได้แน่นอนจะต้องตรวจแยกเชื้อไวรัส เจอี จากเลือด หรือน้ำไขสันหลัง ซึ่งพบได้ยาก การวินิจฉัยที่ใช้อยู่ในปัจจุบันคือตรวจหา IgM antibody เฉพาะต่อไวรัส เจอี ในน้ำไขสันหลังและในเลือด การรักษา ยัง ไม่มียาเฉพาะ เป็นการรักษาแบบประคับประคองตามอาการ ต้องให้การดูแลรักษาเฉพาะใน Intensive care unit บางครั้งจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ การป้องกัน 1) หลีกเลี่ยงไม่ให้ถูกยุงกัด ยุงนี้จะกัดเวลาพลบค่ำ 2) ไม่ควรเลี้ยงหมูในบริเวณใกล้บ้านที่อยู่อาศัย 3) ป้องกันโดยการฉีดวัคซีน 2 ครั้ง ห่างกัน 1 เดือน แล้วฉีดเพิ่มอีก 1 ครั้งหลังจากฉีดเข็มที่ 2 ได้ 1 ปี ควรจะเริ่มให้วัคซีนนี้เมื่ออายุ 1 ปีครึ่ง พร้อมกับการให้ booster dose DTP และ OPV
โรคหัดเป็นโรคไข้ออกผื่น (Exanthematous fever) ที่พบบ่อยในเด็กเล็ก นับว่าเป็นโรคที่มีความสำคัญมากโรคหนึ่ง เพราะอาจมีโรคแทรกซ้อนทำให้ถึงเสียชีวิตได้ สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส Measles ซึ่งอยู่ในตระกูล Paramyxovirus ซึ่งเป็น RNA ไวรัส ที่จะพบได้ในจมูก และลำคอของผู้ป่วย ระบาดวิทยา โรคหัดติดต่อกันได้ง่ายมาก โดยการไอ จาม หรือพูดกันในระยะใกล้ชิด เชื้อไวรัสจะกระจายอยู่ในละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย และเข้าสู่ร่างกายโดยทางการหายใจ บางครั้งเชื้ออยู่ในอากาศ เมื่อหายใจเอาละอองที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส (air borne) เข้าไปก็ทำให้เป็นโรคได้ ผู้ติดเชื้อจะเป็นโรคเกือบทุกราย ถ้า ไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรค เด็กมีโอกาสจะเป็นหัดได้เมื่อภูมิคุ้มกันที่ผ่านมาจากแม่หมดไปเมื่ออายุ ประมาณ 6-9 เดือน อายุที่พบบ่อยคือ 1-6 ปี ถ้าไม่มีภูมิต้านทานจะเป็นได้ทุกอายุ ในประเทศไทย เริ่มให้วัคซีนป้องกันหัด เมื่อ พ.ศ. 2527 ทำให้อุบัติการณ์ของโรคลดลงเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี แต่ก็ยังพบโรคได้ประปราย และมีการระบาดเป็นครั้งคราวในชนบท ผู้ป่วยที่พบส่วนใหญ่จะเป็นเด็กที่ยังไม่ได้รับวัคซีน และเป็นเด็กอายุเกิน 5 ปี มากขึ้น ผู้ ป่วยหัดจะมีเชื้อไวรัสในลำคอและแพร่เชื้อได้ในระยะจาก 1-2 วัน ก่อนที่จะเริ่มมีอาการ (3 ถึง 5 วัน ก่อนผื่นขึ้น) ไปถึงระยะหลังผื่นขึ้นแล้ว 4 วัน ระยะฟักตัวของโรค จากที่เริ่มสัมผัสโรคจนถึงมีอาการประมาณ 8-12 วัน เฉลี่ยจากวันที่สัมผัสจนถึงมีผื่นเกิดขึ้นประมาณ 14 วัน อาการและอาการแสดง อาการ เริ่มด้วยมีไข้ น้ำมูกไหล ไอ ตาแดง ตาแฉะ และกลัวแสง อาการต่างๆ จะมากขึ้นพร้อมกับไข้สูงขึ้น และจะสูงเต็มที่เมื่อมีผื่นขึ้นในวันที่ 4 ของไข้ ลักษณะผื่นนูนแดง maculo-papular ติดกันเป็นปื้นๆ โดยจะขึ้นที่หน้า บริเวณชิดขอบผม แล้วแผ่กระจายไปตามลำตัว แขน ขา เมื่อผื่นแพร่กระจายไปทั่วตัว ซึ่งกินเวลาประมาณ 2-3 วัน ไข้ก็จะเริ่มลดลง ผื่นที่ระยะแรกมีสีแดงจะมีสีเข้มขึ้น เป็นสีแดงคล้ำ หรือน้ำตาลแดง ซึ่งคงอยู่นาน 5-6 วัน กว่าจะจางหายไปหมด กินเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ บางครั้งจะพบผิวหนังลอกเป็นขุย การตรวจในระยะ 1-2 วัน ก่อนผื่นขึ้นจะพบจุดขาวๆ เล็กๆ มีขอบสีแดงๆ อยู่ในกระพุ้งแก้ม เรียกว่า Koplik’s spots ซึ่งจะช่วยให้วินิจฉัยโรคหัดได้ก่อนที่จะมีผื่นขึ้น โรคแทรกซ้อน พบได้บ่อยมาก โดยเฉพาะเด็กที่อยู่ในสภาพยากจน อยู่ในชุมชนแออัด มีภาวะทุพโภชนาการ และในเด็กเล็กที่พบบ่อย มีดังนี้ 1. ทางระบบทางเดินหายใจ - หูส่วนกลางอักเสบ (Otitis media) - หลอดลมอักเสบ Croup - ปอดอักเสบ 2. ทางระบบทางเดินอาหาร พบอุจจาระร่วง ซึ่งจะนำไปสู่ภาวะทุพโภชนาการ 3. สมองอักเสบพบได้ประมาณ 1 ใน 1000 ราย ซึ่งจะทำให้มีความพิการเหลืออยู่ ถ้าไม่เสียชีวิต 4. ในเด็กที่มีภาวะขาดวิตามินเอ อาการจะรุนแรงและอาจทำให้มีตาบอด การวินิจฉัยโรค จากอาการทางคลินิก ลักษณะการเกิดผื่นในวันที่ 4 และการแพร่กระจายของผื่นจากหน้าไปยังแขนขา การมี Koplik’s spots แต่การวินิจฉัยที่แน่นอนคือ การตรวจหา antibody ต่อ measles โดยการเจาะเลือดตรวจในระยะที่มีผื่น และครั้งที่สองห่างไป 2-4 สัปดาห์ ด้วยวิธี Hemagglutination inhibition test หรืออาจตรวจด้วยวิธี ELISA ตรวจหา specific IgM การแยกเชื้อไวรัสจาก nasopharyngeal secretion จากตา หรือจากปัสสาวะ ในระยะที่มีไข้จะสามารถยืนยันได้ว่าเป็นโรคหัด แต่การแยกเชื้อทำได้ยาก จึงไม่ได้ทำกัน นอกจากเป็นการวิจัย การรักษา 1) ให้การรักษาตามอาการ ถ้าไข้สูงมากให้ยาลดไข้เป็นครั้งคราว ร่วมกับการเช็ดตัว ให้ยาแก้ไอที่เป็นยาขับเสมหะได้เป็นครั้งคราว 2) ไม่จำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะ นอกจากรายที่มีโรคแทรกซ้อนเช่น ปอดอักเสบหูอักเสบ 3) ให้อาหารอ่อนที่มีคุณค่าทางอาหารครบถ้วน ให้วิตามินเสริมโดยเฉพาะวิตามินเอ องค์การอนามัยโลกและ UNICEF แนะนำให้วิตามินเอแก่เด็กที่เป็นหัดทุกรายในพื้นที่ที่มีอุบัติการณ์ของการ ขาดวิตามินเอสูง และอัตราป่วยตายของโรคหัดเกิน 1% เนื่องจากผลของการศึกษาในประเทศด้อยพัฒนาหลายแห่งแสดงให้เห็นว่าให้วิตามิน เอเสริมแก่เด็กที่เป็นหัดจะช่วยลดอัตราตายจากหัดลงได้ การแยกผู้ป่วย แยกผู้ป่วยที่สงสัยเป็นหัดจนถึง 4 วัน หลังผื่นขึ้น การป้องกัน หลีก เลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วย วิธีที่ดีที่สุดคือให้วัคซีนป้องกัน ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขให้วัคซีนป้องกันโรคหัด 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อเด็กอายุ 9-12 เดือน ครั้งที่ 2 เมื่อเด็กเข้าเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยให้ในรูปของวัคซีนรวมป้องกันโรคหัด คางทูม หัดเยอรมัน (MMR) สำหรับผู้ที่สัมผัสโรคภายในระยะ 72 ชั่วโมง อาจพิจารณาให้วัคซีนหัดทันที ซึ่งจะป้องกันการเกิดโรคได้ ถ้า สัมผัสโรคเกิน 72 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 6 วัน ให้ Immune globulin (IG) เพื่อป้องกันหรือทำให้ความรุนแรงของโรคลดลง โดยให้ IG ฉีดเข้ากล้ามเนื้อต้นแขน 0.25 มล./กก. ผู้ที่ควรพิจารณาให้ IG ได้แก่เด็กเล็กอายุน้อยกว่า 1 ปี ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง หญิงมีครรภ์ และเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ ซึ่งคนเหล่านั้นถ้าเป็นหัดแล้วจะมีภาวะแทรกซ้อนสูง
โรคมือ เท้า ปาก เกิดจากเชื้อไวรัสลำไส้หรือเอนเทอโรไวรัสหลายชนิด พบได้บ่อยในกลุ่มเด็กทารกและเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โรคเกิดประปรายตลอดปี แต่จะเพิ่มมากขึ้นในหน้าฝน ซึ่งอากาศมักเย็นและชื้น โดยทั่วไปโรคนี้มีอาการไม่รุนแรง การแพร่ติดต่อของโรค การติดต่อส่วนใหญ่เกิดจากได้รับเชื้อไวรัสเข้าสู่ปากโดยตรง โรคแพร่ติดต่อง่ายในช่วงสัปดาห์แรกของการป่วย โดยเชื้อไวรัสอาจติดมากับมือหรือของเล่นที่เปื้อนน้ำลาย น้ำมูก น้ำจากตุ่มพองและแผล หรืออุจจาระของผู้ป่วย และอาจเกิดจากการไอจามรดกัน ในระยะที่เด็กมีอาการทุเลาหรือหายป่วยแล้วประมาณ 1 เดือน จะพบเชื้อในอุจจาระได้ แต่การติดต่อในระยะนี้จะเกิดขึ้นได้น้อยกว่า อาการของโรค หลังจากได้รับเชื้อ 3 - 6 วัน ผู้ติดเชื้อจะเริ่มแสดงอาการป่วย เริ่มด้วยมีไข้ต่ำ ๆ อ่อนเพลีย ต่อมาอีก 1-2 วัน มีอาการเจ็บปากและไม่ยอมทานอาหาร เนื่องจากมีตุ่มแดงที่ลิ้น เหงือก และกระพุ้งแก้ม ตุ่มนี้จะกลายเป็นตุ่มพองใส ซึ่งบริเวณรอบ ๆ จะอักเสบและแดง ต่อมาตุ่มจะแตกออกเป็นแผลหลุมตื้น ๆ จะพบตุ่มหรือผื่น (มักไม่คัน) ที่ฝ่ามือ นิ้วมือ ฝ่าเท้า และอาจพบที่ก้นด้วย อาการจะทุเลาและหายเป็นปกติภายใน 7-10 วัน การรักษา โรคนี้ไม่มียารักษาโดยเฉพาะ แพทย์จะให้ยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ ยาแก้ปวด ควรเช็ดตัวเพื่อลดไข้เป็นระยะ และให้ผู้ป่วยรับประทานทานอาหารอ่อน ๆ รสไม่จัด ดื่มน้ำและน้ำผลไม้ และนอนพักผ่อนมาก ๆ ถ้าเป็นเด็กอ่อน อาจต้องป้อนนมให้แทนการดูดจากขวดตามปกติโรคมักไม่รุนแรงและไม่มีอาการแทรกซ้อน แต่เชื้อไวรัสบางชนิดอาจทำให้มีอาการรุนแรงได้ จึงควรสังเกตอาการของเด็กอย่างใกล้ชิด หากพบมีไข้สูง ซึม ไม่ยอมทานอาหารและดื่มน้ำ อาเจียนบ่อย หอบ แขนขาอ่อนแรง อาจเกิดภาวะสมองหรือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หรือน้ำท่วมปอด ซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ต้องรีบพาไปโรงพยาบาลใกล้บ้านทันที การป้องกันโรค โรคนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน แต่ป้องกันได้โดยการรักษาสุขอนามัย ผู้ปกครองควรแนะนำบุตรหลานและผู้เลี้ยงดูเด็กให้รักษาความสะอาด ตัดเล็บให้สั้น หมั่นล้างมือบ่อย ๆ (ด้วยน้ำและสบู่) โดยเฉพาะหลังการขับถ่ายและก่อนรับประทานอาหาร รวมทั้งการใช้ช้อนกลาง และหลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น แก้วน้ำ หลอดดูด ผ้าเช็ดหน้า และผ้าเช็ดมือ เป็นต้น สถาน รับเลี้ยงเด็กและโรงเรียนอนุบาล ต้องจัดให้มีอ่างล้างมือและส้วมที่ถูกสุขลักษณะ หมั่นดูแลรักษาสุขลักษณะของสถานที่และอุปกรณ์เครื่องใช้ให้สะอาดอยู่เสมอ รวมถึงการกำจัดอุจจาระเด็กให้ถูกต้องด้วย หากพบเด็กป่วย ต้องรีบป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่ไปยังเด็กคนอื่น ๆ ควรแนะนำผู้ปกครองให้รีบพาเด็กไปพบแพทย์ และหยุดรักษาตัวที่บ้านประมาณ 7 วันหรือจนกว่าจะหายเป็นปกติ ระหว่างนี้ไม่ควรพาเด็กไปในสถานที่แออัด เช่น สนามเด็กเล่น สระว่ายน้ำ และห้างสรรพสินค้า และผู้เลี้ยงดูเด็กต้องล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย หรืออุจจาระเด็กป่วย หากมีเด็กป่วยจำนวนมาก อาจจำเป็นต้องปิดสถานที่ชั่วคราว (1-2 สัปดาห์) และทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรค โดยอาจใช้สารละลายเจือจางของน้ำยาฟอกขาว 1 ส่วนผสมกับน้ำ 30 ส่วน
โรคไข้หวัดธรรมดา (cold) และไข้หวัดใหญ่ (Influenza) เป็นโรคที่พบบ่อยมากในคนทุกเพศทุกวัยทุกเชื้อชาติ ในสหรัฐอเมริกามีข้อมูลกว่าร้อยละ 90 ของ ประชากร จะต้องป่วยเป็นโรคหวัด อย่างน้อยหนึ่งครั้งต่อปี สำหรับโรคไข้หวัดใหญ่บางครั้งก็มีอาการอ่อนจนแยกจากโรคไข้หวัดธรรมดาไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็ก แต่บางครั้งก็จะมีอาการรุนแรงกว่าอย่างเห็นได้ชัดและเป็นอยู่นานวันกว่า อาการทั่ว ๆ ไป ของโรคทั้งสอง อาจมีได้ตั้งแต่เป็นหวัดคัดจมูก น้ำมูกไหล จาม เจ็บคอ ไอ และมีไข้ ระยะฟักของโรค ทั้งสองค่อนข้างสั้นเพียง 1-4 วัน แต่โรคก็จะหายเร็ว (5-7 วัน) หากมีภาวะแทรกซ้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของไข้หวัดใหญ่ก็จะกินเวลาเนิ่นนานออกไปอีก สำหรับหวัดธรรมดานั้นต้นเหตุของโรคคือ Rhinovirus ซึ่งอยู่ในสกุล Picornaviridae ส่วนไข้หวัดใหญ่เกิดจาก Influenza virus ซึ่งอยู่ในสกุล Orthomyxoviridae ตารางที่ 1 จะแสดงข้อแตกต่างระหว่างอาการของโรคหวัดธรรมดาและไข้หวัดใหญ่โรคไข้หวัดธรรมดา (cold) และไข้หวัดใหญ่ (Influenza) เป็นโรคที่พบบ่อยมากในคนทุกเพศทุกวัยทุกเชื้อชาติ ในสหรัฐอเมริกามีข้อมูลกว่าร้อยละ 90 ของ ประชากร จะต้องป่วยเป็นโรคหวัด อย่างน้อยหนึ่งครั้งต่อปี สำหรับโรคไข้หวัดใหญ่บางครั้งก็มีอาการอ่อนจนแยกจากโรคไข้หวัดธรรมดาไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็ก แต่บางครั้งก็จะมีอาการรุนแรงกว่าอย่างเห็นได้ชัดและเป็นอยู่นานวันกว่า อาการทั่ว ๆ ไป ของโรคทั้งสอง อาจมีได้ตั้งแต่เป็นหวัดคัดจมูก น้ำมูกไหล จาม เจ็บคอ ไอ และมีไข้ ระยะฟักของโรค ทั้งสองค่อนข้างสั้นเพียง 1-4 วัน แต่โรคก็จะหายเร็ว (5-7 วัน) หากมีภาวะแทรกซ้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของไข้หวัดใหญ่ก็จะกินเวลาเนิ่นนานออกไปอีก สำหรับหวัดธรรมดานั้นต้นเหตุของโรคคือ Rhinovirus ซึ่งอยู่ในสกุล Picornaviridae ส่วนไข้หวัดใหญ่เกิดจาก Influenza virus ซึ่งอยู่ในสกุล Orthomyxoviridae ตารางที่ 1 จะแสดงข้อแตกต่างระหว่างอาการของโรคหวัดธรรมดาและไข้หวัดใหญ่ ตารางที่ 1 อาการของโรคหวัดธรรมดา และไข้หวัดใหญ่ อาการ ไข้หวัดธรรมดา ไข้หวัดใหญ่ ไข้ พบได้บ่อยในเด็กผู้ใหญ่อาจมีไข้ต่ำๆ ไข้สูงทั้งเด็กและผู้ใหญ่ อาการปวดกล้ามเนื้อ ไม่ใคร่จะพบ ถ้ามีก็อ่อนๆ พบบ่อยและปวดมาก อาการอ่อนเพลีย มีน้อยเป็นอยู่ระยะสั้นๆ เป็นมากและอาจนานเป็นสัปดาห์ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน ไม่ใคร่พบ พบได้โดยเฉพาะพบบ่อยในเด็ก คัดจมูก น้ำมูกไหล เจ็บคอ พบบ่อยในระยะเริ่มแรก พบได้บ่อยแต่ในระยะหลังๆ อาการวิทยา(1) โรคไข้หวัดใหญ่อาจแบ่งไปได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้คือ ไข้หวัดใหญ่ที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน ไข้หวัดใหญ่ที่มีภาวะแทรกซ้อน โรคอื่น ๆ ที่อาจสัมพันธ์กับไข้หวัดใหญ่ 1. ไข้หวัดใหญ่ที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน 1.1 ไข้หวัดใหญ่ในผู้ใหญ่ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ ที่เป็นไข้หวัดใหญ่จะมีไข้สูงเฉียบพลัน (38°-40° ซ.) ภายใน 48 ชั่วโมง หลังจากที่ได้รับเชื้อ ระยะฟักตัวของโรคมักจะสั้น ซึ่งจะขึ้นอยู่กับปริมาณของไวรัสที่ได้รับ อาจจะนานถึง 4-5 วัน หรืออาจสั้นเพียง 24-48 ชั่วโมงก็ได้ อาการนำมักจะเริ่มด้วยมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล ตามมาด้วยไข้สูง ปวดศรีษะ หนาวสะท้าน และมีอาการไอแห้ง ๆ ในวันแรกที่ป่วย ผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่บางรายอาจจะมีอาการทางระบบหายใจน้อย แต่มีอาการไม่สบาย ปวดเมื่อยตามเนื้อตามตัว และปวดหลังมากกว่า อย่างไรก็ตามอาการคัดจมูกมักจะพบบ่อยและอาการที่ร่วมด้วยก็คือ คอแห้งและคันคอ มากกว่าที่จะมีอาการเจ็บคอ ในบางรายอาจจะมีน้ำมูกไหลอย่างมาก และมีอาการจามด้วย ตาแดงและน้ำตามักจะไหล ต่อมาเมื่อมีอาการไอมากขึ้นมีอาการเจ็บบริเวณกลางอก ถึงแม้ว่าคอแดงแต่ไม่มี exudate ต่อมน้ำเหลืองที่คอไม่โต เสียงแหบ หรือบางรายเสียงแห้งหายไปก็ได้ ผู้ป่วยจะนอนหลับไม่สนิท เบื่ออาหาร คลื่นไส้ และเวียนศรีษะด้วย ลิ้นมักจะปกติ แต่อาจมีกลิ่นปากบ้าง ในรายที่ได้นอนพัก อาการโดยทั่วไปมักไม่รุนแรง ภายใน 3-4 วัน ไข้จะลดลงสู่ระดับปกติและส่วนใหญ่จะลดลงในเวลาไม่เกิน 5 วัน แต่จะยังคงมีอาการอ่อนเพลีย และมีอาการ ไอมีเสมหะเป็นก้อน ๆ ต่อไปอีก 2-3 วัน ผู้ป่วยจะกลับไปปฏิบัติงานได้ตามปกติภายใน 7-10 วัน ในระหว่างที่โรค กำลังดำเนินอยู่ การตรวจทางกายภาพ อาจจะได้ fine rale เป็นหย่อม ๆ หรืออาจพบว่ามีเสียงหายใจเบาลง การถ่ายภาพ รังสีปอด พบว่าปกติ ในรายที่มีโรคปอด-หลอดลมอยู่เดิมอาจฟังได้เสียง rale และ wheezing rhonchi ได้ ชีพจร การเต้นหัวใจมักจะช้าลงมากกว่าที่จะเต้นเร็วกว่าปกติ ความดันโลหิตจะสูงขึ้นในระหว่างที่มีไข้ ยกเว้นในรายที่มีโรคหัวใจอยู่เดิม หรือ ผู้ป่วย สูงอายุอาจพบว่าลดต่ำลง ในคนปกติจะไม่พบ extrasystole แต่ใน EKG อาจพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของ T waves และ S-T segments ได้บ้างเล็กน้อย ในรายที่มีรอยโรคที่ลิ้นหัวใจ มักจะมีภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญคือ ปอดอักเสบอย่างรุนแรง ESR มักอยู่ในเกณฑ์ปกติ และเม็ดเลือดขาวก็อยู่ในเกณฑ์ปกติ 1.2 ไข้หวัดใหญ่ในเด็ก อาการจะขึ้นอยู่ กับอายุของผู้ป่วยด้วย หากผู้ป่วยเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 4 ขวบ มักจะมีอาการชัก มี croup หรือภาวะแทรกซ้อนทางปอด ซึ่งจะต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาล เด็กมักจะไอมาก อาเจียนและบางรายมีอาการคอแห้ง แต่การตรวจ CSF พบว่าปกติ ในบางรายอาจมีไข้สูงอยู่นานวัน เบ็นเน็ทได้ศึกษาผู้ป่วย จำนวน 185 ราย ในกลุ่มอายุต่าง ๆ ใน นครเมลเบอร์น เมื่อปี พ.ศ. 2516 พบว่ามีอาการต่าง ๆ กัน ดังตารางที่ 2 ตารางที่ 2 แสดงอาการสำคัญของโรคไข้หวัดใหญ่ในเด็กและวัยรุ่น อาการ อายุ แรกเกิด-4 ปี 4-9 ปี 10-19 ปี ไอ 40 5 - ไอ, น้ำมูกไหล 22 - - ไอ, ปวดศรีษะ - 7 6 ไอ, ปวดศรีษะ, ปวดตามตัว - - 14 ไอ, เจ็บคอ - - 5 Croup 28 5 5 ชัก 14 - - อาเจียน 10 6 - ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ - - 23 เจ็บคอ - - 15 ไข้สูงนานวัน 5 1 1 ปอดบวม 12 3 0 Lumbar puncture 19 6 15 มีข้อที่น่าสังเกตก็คือ เด็กที่ป่วยด้วยเชื้อ Influenza B มักมีอาการรุนแรงกว่า ที่ป่วยด้วย Influenza A และอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล ก็จะมากกว่าด้วย ในเด็กอาจพบว่ามีเลือดกำเดาไหลด้วย ในเด็กแรกเกิดมักจะมีอาการอ่อนคล้ายไข้หวัดธรรมดา 1.3 ไข้หวัดใหญ่ในหญิงมีครรภ์และผลต่อทารกในครรภ์ สตรีมีครรภ์ จะมีอันตรายสูงหากป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ในระยะไตรมาสที่ 3 พบว่าอันตรายค่อนข้างสูง ในระหว่างการระบาดเมื่อปี พ.ศ. 2500 ผู้ป่วยมักจะมีภาวะแทรกซ้อนทางปอดอย่าง รุนแรงและทารกอาจจะถึงแก่กรรมด้วย ยิ่งในรายที่มีลิ้นหัวใจไมตรัลตีบ ภาวะแทรกซ้อนทางปอดจะพบในอัตราที่สูงขึ้นด้วย สำหรับทารกใน ครรภ์ อาจจะได้รับผลจากการที่มารดาป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ อาจจะตายระหว่างคลอดหรือหลังคลอดใหม่ ๆ อาจคลอดก่อนกำหนด อาจมีความพิการแต่กำเนิด เป็นต้น 2. โรคไข้หวัดใหญ่ที่มีภาวะแทรกซ้อน ภาวะแทรก ซ้อนที่พบบ่อยได้แก่ ภาวะแทรกซ้อนต่อทางเดินหายในส่วนล่าง ระบบหัวใจ หลอดเลือด และระบบประสาทกลาง แต่ส่วนใหญ่จะเกิดที่ทางเดินหายใจ ทั้งนี้เนื่องจากขณะที่ไวรัสไข้หวัดใหญ่เพิ่มจำนวน เยื่อบุทางเดินหายใจจะถูกทำลายอย่างมาก (epithelial necrosis) 2.1 ภาวะแทรกซ้อนทางเดินหายใจ 2.1.1 Tracheo-bronchitis และ bronchiolitis ผู้ป่วยจะ มีอาการรุนแรงจนต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาล จะมีอาการไอมีเสมหะมาก เจ็บกลางอก แน่นหน้าอก และหายใจมีเสียงหวีดทั่วปอด มักจะเกิดในผู้สูงอายุและผู้ที่มี chronic obstructive bronchitis อยู่เดิม ภาพรังสีปอดจะปกติ 2.1.2 Influenzal pneumonia ผู้ป่วยจะ มีอาการหายใจหอบ เจ็บหน้าอก ไอมีเสมหะมาก เสมหะมีลักษณะเป็นมูก หรือเป็นฟอง ๆ และมักมีเลือดติดออกมาด้วย ซึ่งแสดงว่าถุงลมเกิดการอักเสบแล้ว ตรวจพบ rale เสียงเหมือนฟองน้ำ (bubbling rale) เคาะปอดทึบ แต่ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น empyema มักไม่ใคร่พบ ภาพรังสีปอดจะเห็นว่าปอดอักเสบอย่างชัดเจน การเกิดปอดบวมนี้จะเกิดจากไวรัสเอง (primary influenzal pneumonia) หรือเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติมก็ได้ (staphylococcus, hemophilus และ pneumococcus) ผู้ป่วยที่มีโรคหลอดลม-ปอด อยู่เดิมหากเกิดเป็นปอดบวมอัตราตายจะสูงมาก 2.2 ภาวะแทรกซ้อนทางหัวใจ ดังได้กล่าวไว้แล้วว่า ในผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจอยู่เดิมมักจะมีภาวะแทรกซ้อนทางปอดในอัตราที่สูง สำหรับภาวะแทรกซ้อนที่หัวใจโดยตรงนั้นได้แก่ myocarditis นอกจากนั้น อาจจะพบการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย เช่น การเปลี่ยนแปลงของเสียงหัวใจ การเปลี่ยนแปลงในอัตราการเต้นของหัวใจ หรือในคนที่ไม่เคยเป็นโรคหัวใจอยู่เดิมอาจพบว่ามี congestive heart failure ได้ ในผู้สูงอายุอาจ พบว่ามี ความดันโลหิตลดต่ำลงและถึงแก่กรรมปุปปับก็ได้ มีผู้เคยแยกเชื้อ ไวรัสไข้หวัดใหญ่ได้จากกล้ามเนื้อหัวใจด้วย ในบางกรณีอาจมีการอักเสบของเยื่อหุ้มด้วยก็ได้ ผู้ที่เสี่ยงสูงที่จะได้รับอันตรายในการเกิดภาวะแทรกซ้อนหัวใจ ได้แก่ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงและผู้ที่ป่วยเป็น ischemic heart disease 2.3 ภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท อาจพบว่ามี encephalitis หรือ encephalopathy มักเกิดแก่ผู้ป่วยเด็ก นอกจากนั้น พบว่าอาจเกิด Guillain-Barre syndrome ก็ได้ 3. โรคอื่น ๆ ที่อาจสัมพันธ์กับไข้หวัดใหญ่ 3.1 Reye’s Syndrome โรคนี้คือ กลุ่มอาการ encephalopathy ที่มี fatty liver ร่วมด้วย มักเกิดแก่เด็ก เกิดภายหลังจากที่มี viral infections หลายชนิด รวมทั้ง Influenza A และ B ด้วย กลุ่มอาการนี้จะพบบ่อยในรายที่ได้รับยาลดไข้ประเภทแอสไพริน 3.2 Diabetic Ketosis ในรายที่เป็นโรค เบาหวานแล้วป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ อาจนำไปสู่ภาวะ diabetic ketosis และถึงแก่กรรมได้ รายที่ตายพบว่า ระดับโปแตสเซียมในซีรั่มจะลดต่ำลงด้วย ในรายที่เป็นโรค เบาหวานแล้วป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ อาจนำไปสู่ภาวะ diabetic ketosis และถึงแก่กรรมได้ รายที่ตายพบว่า ระดับโปแตสเซียมในซีรั่มจะลดต่ำลงด้วยข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : http://thaigcd.ddc.moph.go.th/knowledges/view/101
โรคคอตีบ (Diphtheria) โรค คอตีบ หรือ ดิพทีเรีย เป็นโรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบทางเดินหายใจ ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบ มีแผ่นเยื่อเกิดขึ้นในลำคอ ในรายที่รุนแรงจะมีการตีบตันของทางเดินหายใจ จึงได้ชื่อว่าโรคคอตีบ ซึ่งอาจทำให้ถึงตายได้ และจากพิษ (exotoxin) ของเชื้อจะทำให้มีอันตรายต่อกล้ามเนื้อหัวใจ และเส้นประสาทส่วนปลาย สาเหตุ โรคคอตีบเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Corynebacterium diphtheriae (C. diphtheriae) ซึ่งมี รูปทรงแท่งและย้อมติดสีแกรมบวก มีสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดพิษ (toxogenic) และไม่ทำให้เกิดพิษ (nontoxogenic) พิษที่ถูกขับออกมาจะชอบไปที่กล้ามเนื้อหัวใจและปลายประสาท ทำให้เกิดการอักเสบ ซึ่งถ้าเป็นรุนแรงจะทำให้ถึงตาย ระบาดวิทยา เชื้อ จะพบอยู่ในคนเท่านั้นโดยจะพบอยู่ในจมูกหรือลำคอของผู้ป่วยหรือผู้ติดเชื้อ โดยไม่มีอาการ (carrier) ติดต่อกันได้ง่ายโดยการได้รับเชื้อโดยตรงจากการไอ จามรดกัน หรือพูดคุยกันในระยะใกล้ชิด เชื้อจะเข้าสู่ผู้สัมผัสทางปากหรือทางการหายใจ บางครั้งอาจติดต่อกันได้โดยการใช้ภาชนะร่วมกัน เช่น แก้วน้ำ ช้อน หรือ การดูดอมของเล่นร่วมกันในเด็กเล็ก ผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการเป็นแหล่งแพร่เชื้อที่สำคัญในชุมชน ส่วนใหญ่จะพบผู้ป่วยโรคคอตีบในชุมชนแออัด ในกลุ่มชนที่มีเศรษฐานะไม่ดี เด็กที่ไม่ได้รับวัคซีนจะติดเชื้อได้ตั้งแต่เล็กหลังจากภูมิต้านทานจากแม่ หมดลง ในประเทศที่ยังพบโรคนี้ได้ชุกชุมส่วนใหญ่จะพบในเด็กอายุระหว่าง 1-6 ปี สำหรับประเทศที่พัฒนาแล้วและมีระดับการได้รับวัคซีนป้องกันโรคคอตีบสูง โรคนี้จะหมดไปหรือพบได้น้อยมาก ในประเทศไทยอุบัติการณ์ของโรคได้ลดลงมาก ส่วนใหญ่ของผู้ป่วยที่พบจะอยู่ในชนบทหรือในชุมชนแออัด เป็นเด็กที่ยังไม่ได้รับวัคซีนหรือได้รับไม่ครบ และพบในเด็กโตได้มากขึ้น ถึง แม้อุบัติการณ์ของโรคจะลดลงอย่างเห็นได้ชัดเจนทุกแห่ง แต่อัตราป่วยตาย (case-fatality rate) อยู่ในระดับที่ค่อนข้างคงที่ คือ ประมาณร้อยละ 10 ระยะ ฟักตัวของโรคอยู่ระหว่าง 2-5 วัน อาจจะนานกว่านี้ได้ เชื้อจะอยู่ในลำคอของผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาได้ประมาณ 2 สัปดาห์ แต่บางครั้งอาจนานถึงหลายเดือนได้ ผู้ที่ได้รับการรักษาเต็มที่เชื้อจะหมดไป ภายใน 1 สัปดาห์ อาการและอาการแสดง หลัง ระยะฟักตัวจะเริ่มมีอาการไข้ต่ำๆ มีอาการคล้ายหวัดในระยะแรก มีอาการไอเสียงก้อง เจ็บคอ เบื่ออาหาร ในเด็กโตอาจจะบ่นเจ็บคอคล้ายกับคออักเสบ บางรายอาจจะพบต่อมน้ำเหลืองที่คอโตด้วย เมื่อตรวจดูในคอพบแผ่นเยื่อสีขาวปนเทาติดแน่นอยู่บริเวณทอนซิล และบริเวณลิ้นไก่ แผ่นเยื่อนี้เกิดจากพิษที่ออกมาทำให้มีการทำลายเนื้อเยื่อ และทำให้มีการตายของเนื้อเยื่อทับซ้อนกันเกิดเป็นแผ่นเยื่อ (membrane) ติดแน่นกับเยื่อบุในลำคอ ตำแหน่งที่จะพบมีการอักเสบและมีแผ่นเยื่อได้ คือ - ในจมูก ทำให้มีน้ำมูกปนเลือดเรื้อรัง มีกลิ่นเหม็น - ในลำคอและที่ทอนซิล ซึ่งแผ่นเยื่ออาจจะเลยลงไปในหลอดคอ จะทำให้ทางเดินหายใจตีบตันหายใจลำบาก ถึงตายได้ - ตำแหน่งอื่นๆ ได้แก่ ที่ผิวหนัง เยื่อบุตา ในช่องหู โรคแทรกซ้อน 1) ทางเดินหายใจตีบตัน 2) กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ 3) ปลายประสาทอักเสบ ทำให้มีอัมพาตของกล้ามเนื้อ การวินิจฉัยโรค อาศัยอาการทางคลินิก มีไอเสียงก้อง เจ็บคอ ตรวจพบแผ่นเยื่อในลำคอ บริเวณทอนซิลและลิ้นไก่ (uvula) มีอาการของทางเดินหายใจตีบตัน การวินิจฉัยที่แน่นอนคือการเพาะเชื้อ C. diphtheriae โดยใช้ throat swab เชื้อบริเวณแผ่นเยื่อหรือใต้แผ่นเยื่อ หรือจากแผ่นเยื่อที่หลุดออกมา เนื่องจากต้องใช้มีเดียพิเศษในการเพาะเชื้อ จึงควรจะต้องติดต่อแจ้งห้องปฏิบัติการเมื่อนำส่ง specimen เมื่อเพาะได้เชื้อ C. diphtheriae จะต้องทดสอบต่อไปว่าเป็นสายพันธุ์ที่สร้าง exotoxin การรักษา เมื่อพบผู้ป่วยที่สงสัยว่าเป็นโรคคอตีบ ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที เพราะแพทย์จะต้องรีบให้การรักษาโดยเร็ว ผลการรักษาจะได้ผลหรือไม่ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่เป็นมาก่อนได้รับการรักษา 1) การให้ diphtheria antitoxin (DAT)* เมื่อแพทย์ตรวจและสงสัยว่าเป็นคอตีบ จะต้องรีบให้ DAT โดยเร็วที่สุด เพื่อให้ไปทำลาย exotoxin ก่อนที่จะเกิดอันตรายต่อกล้ามเนื้อหัวใจและปลายประสาท ทั้งนี้ โดยไม่ต้องรอผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ขนาดของ DAT ที่ให้อยู่ระหว่าง 10,000-20,000 หน่วย โดยพิจารณาตามความรุนแรงของโรค หมายเหตุ *การให้ antitoxin ต้องทำ skin test 2) ให้ยาปฎิชีวนะ เพนนิซิลิน ฉีดเข้ากล้ามเป็นเวลา 14 วัน ถ้าแพ้เพนนิซิลิน ให้ erythromycin แทน ยาปฏิชีวนะจะไปทำลายเชื้อ C. diphtheriae 3) เด็กที่มีโรคแทรกซ้อนจากการอุดกั้นของทางเดินหายใจ จะต้องได้รับการเจาะคอเพื่อช่วยให้หายใจได้ ส่วนโรคแทรกซ้อนทางหัวใจและทางเส้นประสาท ให้การรักษาประคับประคองตามอาการ โรคแทรกซ้อนทางหัวใจนับเป็นสาเหตุสำคัญของ การตายในโรคคอตีบ 4) เด็กที่เป็นโรคคอตีบจะต้องพักเต็มที่ อย่างน้อย 2-3 สัปดาห์ เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนทางหัวใจ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นปลายสัปดาห์ที่ 2 การป้องกัน 1) ผู้ที่มีอาการของโรคจะมีเชื้ออยู่ในจมูก ลำคอ เป็นระยะเวลา 2-3 สัปดาห์ ดังนั้น จึงต้องแยกผู้ป่วยจากผู้อื่นอย่างน้อย 3 สัปดาห์ หลังเริ่มมีอาการ หรือตรวจเพาะเชื้อไม่พบเชื้อแล้ว 2 ครั้ง ผู้ป่วยที่หายจากโรคคอตีบแล้ว อาจไม่มีภูมิคุ้มกันโรคเกิดขึ้นเต็มที่ จึงอาจเป็นโรคคอตีบซ้ำอีกได้ ดังนั้นจึงต้องให้วัคซีนป้องกันโรค (DTP หรือ dT) แก่ผู้ป่วยที่หายแล้วทุกคน 2) ผู้ใกล้ชิดผู้ป่วย เนื่องจากโรคคอตีบติดต่อกันได้ง่าย ดังนั้นผู้สัมผัสโรคที่ไม่มีภูมิคุ้มกันโรคจะติดเชื้อได้ง่าย จึงควรได้รับการติดตามดูอาการอย่างใกล้ชิด โดยทำการเพาะเชื้อจากลำคอ และติดตามดูอาการ 7 วัน ในผู้ที่สัมผัสโรคอย่างใกล้ชิดที่ไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคมาก่อน หรือได้ไม่ครบ ควรให้ยาปฏิชีวนะ benzathine penicillin 1.2 ล้านหน่วย ฉีดเข้ากล้าม หรือให้กินยา erythromycin 50 มก./กก/วัน เป็นเวลา 7 วัน พร้อมทั้งเริ่มให้วัคซีน เมื่อติดตามดูพบว่ามีอาการ และ/หรือตรวจพบเชื้อ ให้ยาปฏิชีวนะดังกล่าว พร้อมกับให้ diphtheria antitoxin เช่นเดียวกับผู้ป่วย 3) ในเด็กทั่วไป การป้องกันนับว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุด โดยการให้วัคซีนป้องกันคอตีบ 5 ครั้ง เมื่ออายุ 2, 4, 6 และ 18 เดือน และกระตุ้นอีกครั้งหนึ่งเมื่ออายุ 4 ปี
กรุงเทพฯ--16 ก.ค.--โอเพ่นอัพ คอมมิวนิเคชั่น ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยในเด็ก ห่วงโรคมือ เท้า ปากวิกฤติ ระดมศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก กว่า 30 แห่ง ใน กทม. ตั้งป้อมป้องกันโรค แนะวิธีคัดกรอง 4 จุด หยุดมือ เท้า ปาก คุมการแพร่ระบาดอย่างเป็นรูปธรรมด้วย 6 ภารกิจ พร้อมสนับสนุนอุปกรณ์ตรวจคัดกรอง เครื่องวัดอุณหภูมิร่างกาย เจลล้างมือ โปสเตอร์วิธีการปฏิบัติที่ถูกต้องทุกศูนย์ วันนี้ (15 ก.ค.2555) ที่ห้องประชุม 810 AB ชั้น 8 อาคารเรียนและปฏิบัติการรวมด้านการแพทย์และโรงพยาบาล โรงพยาบาลรามาธิบดี ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยในเด็ก คณะแพทย์ศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ร่วมกับสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สสส. จัดอบรมผู้ดูแลเด็กในศูนย์ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก กรุงเทพมหานคร ในหัวข้อ “ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก รวมพลังสู้ภัย มือ เท้า ปาก” โดย นพ.ฉัตรชัย อิ่มอารมย์ อาจารย์ประจำภาควิชากุมารแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี เปิดเผยว่า ขณะนี้พบเด็กป่วยด้วยโรค มือ เท้า ปาก จำนวนมาก เพราะเป็นโรคระบาดที่ติดเชื้อได้ง่าย และจากการสอบถามในวันนี้ก็มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กถึง 6 ศูนย์ ที่พบเด็กเป็นและบางศูนย์ได้ปิดศูนย์เพื่อทำความสะอาดฆ่าเชื้อแล้ว ดังนั้น เราจะรับมืออย่างไร เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กเป็นโรคมือ เท้า ปาก นพ.ฉัตรชัย กล่าวต่อว่า การป้องกันโรค มือ เท้า ปาก สามารถหายขาดและหยุดการแพร่เชื้อได้ โดยผู้อยู่ใกล้ชิดเด็ก ทั้ง พ่อ แม่ ครู พี่เลี้ยงเด็ก ต้องถือปฏิบัติด้วยวิธีการการป้องกันการแพร่ระบาดอย่างเป็นรูปธรรม คือ 1.จัดตั้งจุดคัดกรอง บริเวณใกล้ทางเข้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหรือทางเข้าห้องเรียน และต้องทำตั้งแต่เช้าเมื่อเด็กมาโรงเรียน 2.คัดกรองเด็กทีละคนๆ ตามลำดับอย่างเป็นระเบียบ อย่าปล่อยให้เด็กสัมผัสกัน หรืออยู่รวมกันอย่างไม่เป็นระเบียบ 3.ต้องไม่ลืมล้างมือด้วยน้ำและสบู่ ทั้งก่อนและหลังตรวจคัดกรองเด็กแต่ละคน โดยเฉพาะเมื่อสัมผัสกับตัวเด็ก (อาจใช้น้ำยาล้างมือได้กรณีไม่มีอ่างล้างมือใกล้ๆ) 4.ห้ามใช้พลาสติกสวมปรอทวัดไข้ซ้ำ (1 คน 1 ครั้ง เท่านั้น) 5.ให้ผู้ปกครองช่วยเหลือในการตรวจคัดกรอง เช่น ถอดรองเท้า ถุงเท้า เป็นต้น และหากสงสัยว่าจะเป็นโรคมือเท้าปาก ให้แจ้งผู้ปกครองทันที 6.ล้างมือด้วยน้ำที่ไหลออกจากก๊อกน้ำ ไม่ล้างในอ่างหรือกาละมัง พร้อมกับสบู่ ก็สามารถป้องกันได้ “ถ้าพบเด็กที่สงสัยว่าจะป่วยจากโรคมือเท้าปาก ต้องแยกเด็กที่สงสัยว่าจะป่วยออกจากเด็กคนอื่นๆ อาจจะให้อยู่ในห้องเด็กป่วยหรือห้องแยก ติดต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ให้นำเด็กไปพบคุณหมอ เพื่อยืนยันการวินิจฉัย หากไม่ได้เป็นโรคมือเท้าปากก็ควรให้ผู้ปกครองขอใบรับรองแพทย์มาด้วย อย่าลืมทำความสะอาดบริเวณที่เลี้ยงเด็ก รวมถึงของเล่น หากได้รับการยืนยันจากคุณหมอว่าป่วยจากโรคมือเท้าปากจริง ให้ขอความร่วมมือจากผู้ปกครองเพื่อให้เด็กพักผ่อนอยู่บ้านและหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับเด็กคนอื่นๆ จนกระทั่งอาการหายเป็นปกติ ไม่มีไข้และตุ่มตามมือเท้าแห้งทั้งหมดแล้ว และฝากว่า พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ครู หรือพี่เลี้ยงเด็กบางคนเห็นเด็กมีตุ่มก็เกิดความหวังดี ด้วยการเจาะตุ่มน้ำให้แตก เพราะกลัวเด็กจะเจ็บ ซึ่งเป็นวิธีการที่ผิดและกลายเป็นวิธีการแพร่เชื้อของโรคที่ง่ายและเร็วขึ้นด้วย” นพ.ฉัตรชัย กล่าว ด้าน นพ. อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ หัวหน้าศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยในเด็ก คณะแพทย์ศาสตร์ รพ.รามาธิบดี กล่าวว่า โรคมือ เท้า ปาก บ้านเราก็ถือว่าอยู่ในขั้นวิกฤติแล้ว แม้จะยังไม่รุนแรงเท่ากับประเทศพม่า ดังนั้น ทุกคนต้องช่วยกันเฝ้าระวัง ดูแล และระมัดระวังเนื่องจากมีโอกาสเกิดความรุนแรงได้ จึงขอให้ผู้ปฏิบัติงานในศูนย์เด็กเล็กเข้าใจใน 6 ภารกิจสำคัญที่ต้องกลับไปดำเนินการที่ศูนย์ คือ 1.ตั้งด่านตรวจคัดกรอง 4 จุด หยุดโรค มือเท้า ปาก คือ ตรวจไข้ทุกวันตอนเช้าก่อนเข้าเรียน ตรวจหาแผลในปาก ตรวจหาตุ่มน้ำบริเวณมือ และตรวจหาตุ่มน้ำบริเวณเท้า 2.แยกเด็กที่สงสัยว่าป่วยไม่ให้อยู่รวมกับเด็กดี 3.ล้างมือทุก 1 ชั่วโมง 4.จัดการสิ่งแวดล้อม เก็บของเล่น ที่นอน และทำความสะอาด 5.รายงานหน่วยที่เกี่ยวข้องตามสายงาน และ 6.จัดประชุมชุมชน บอกกล่าวเล่าเรื่องให้ชุมชนเข้าใจ เพื่อช่วยกันเฝ้าระวัง หัวหน้าศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยในเด็ก กล่าวอีกว่า ถ้าพบว่ามีเด็กป่วยเป็นโรคมือ เท้า ปาก แต่ไม่มีพ่อ แม่หรือผู้ดูแลเด็ก อยากให้ในชุมชนหาบ้านอาสา หรืออาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐาน(อสม.)ที่เต็มใจ และพร้อมจะทำหน้าที่ดูแลเด็กที่ป่วย แต่บ้านหลังนี้จะต้องไม่มีเด็กที่อายุน้อยกว่า 10 ปีอยู่ และมีพี่เลี้ยง ครู ศูนย์เด็กเล็กที่มีความเชี่ยวชาญในการดูแลเด็ก และสามารถให้ความรู้กับชุมชนได้ ทางศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยในเด็ก และหน่วยสร้างเสริมสุขภาพชุมชนในภาวะวิกฤต รพ.รามาธิบดี ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สสส.ยินดีให้การสนับสนุนอุปกรณ์ พี่เลี้ยง ในการจัดประชุมเพื่อให้ความรู้แก่ชุมชน โดยสามารถติดต่อกลับมาได้ที่ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยในเด็ก โทร.02-6449080-1,081-4082590 (คุณงามตา) ที่มา :
ความรู้และแนวทางป้องกันควบคุมโรค มือ เท้า ปาก สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ ตามที่พบการระบาดของโรค มือ เท้า ปาก ในประเทศไทย ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนกรกฎาคม 2555 พบผู้ป่วยแล้วมากกว่า 10,000 ราย จากทุกจังหวัดกระจายไปทุกภาคของประเทศไทย โดยกลุ่มอายุที่พบส่วนใหญ่ คือ เด็กเล็กช่วงอายุต่ำกว่า 2- 5 ปี ซึ่งพบได้มากในศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาล จึงขอให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข บุคลากรทางการแพทย์ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่รวมทั้งประชาชนดำเนินการเฝ้าระวัง แจ้งเตือน และเตรียมการป้องกันแก้ไขปัญหาการเกิดโรค มือ เท้า ปากเมื่อพบการระบาดของโรค ให้ดำเนินการป้องกันควบคุมโรคทันที โดยมีการสอบสวนโรคและเฝ้าระวังโรคอย่างต่อเนื่อง เก็บตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อตรวจหาเชื้อที่รุนแรง ดูแลรักษาพยาบาลตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุขซึ่งท่านสามารถเข้าไปดาวน์โหลดข้อมูล สถานการณ์ คู่มือ สื่อประชาสัมพันธ์ เพื่อสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ จากสำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ได้แล้วที่หัวข้อด้านล่างนี้ และให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์ เป็นต้น 1. องค์ความรู้ของโรค โรคมือ เท้า และปาก เกิดจากเชื้อไวรัสลำไส้ หรือ เอนเทอโรไวรัสหลายชนิด (Enterovirus) พบได้บ่อยในกลุ่มเด็กทารกและเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โรคเกิดประปรายตลอดปีแต่จะเพิ่มมากขึ้นในหน้าฝน ซึ่งมักเย็นและชื้น โดยทั่วไปโรคนี้มีอาการไม่รุนแรง ปัจจัยหลักที่โน้มนำให้เกิดการระบาดมาจากความแออัดระบบการถ่ายเทอากาศไม่ดีสุขอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขวิทยาส่วนบุคคลบกพร่อง ส่วนใหญ่มักเกิดตามสถานรับเลี้ยงเด็ก โรงเรียนอนุบาล เป็นต้น Download เอกสารเพิ่มเติม 1.องค์ความรู้ (Factsheet) เรื่อง โรคติดต่ออุบัติใหม่ "โรค มือ เท้า ปาก (Hand Foot and Mouth Disease ; HFMD) 2.คู่มือ การป้องกันควบคุมโรคติดต่ออุบัติใหม่ สำหรับบุคลากรทางการแพทย์สาธารณสุข ปี 2554 "โรค มือ เท้า ปาก (Hand Foot and Mouth Disease ; HFMD) 3. องค์ความรู้โรคมือ เท้า ปาก ฉบับย่อ 2. แนวทางการดำเนินงาน ป้องกัน ควบคุม โรค มือ เท้า ปาก 1.แนวทางการวินิจฉัย และดูแลรักษา โรค มือ เท้า ปาก สำหรับแพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์ 2. แนวทางการดำเนินงานป้องกันควบคุมการระบาดของโรคมือ เท้า ปาก สำหรับแพทย์์ 3. แนวทางการดำเนินงานป้องกันควบคุมการระบาดของโรคมือ เท้า ปาก สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 4. แนวทางเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมการระบาดของโรคมือ เท้า ปาก สำหรับศูนย์เด็กเล็กสถานรับเลี้ยงเด็ก และสถานศึกษา 5. Prevention and Control Measures for School/Child Care Centre Against Hand Foot and Mouth Disease (HFMD) 6. คำแนะนำสำหรับผู้เดินทางที่จะ ไป - มา จากประเทศกัมพูชา 7. คำแนะนำสำหรับกิจกรรมการรวมตัวของคนหมู่มาก เพื่อป้องกันการแพร่กระจายโรคมือ เท้า ปาก การดูแลรักษาพยาบาล โรคนี้ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรงและหายได้เอง ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะป่วยนานประมาณ 7- 10 วัน เนื่องจากยังไม่มียาต้านไวรัสชนิดนี้โดยเฉพาะ จึงใช้การรักษาเพื่อบรรเทาอาการต่างๆ เช่น การใช้ยาลดไข้ ยาแก้ปวด ยาทาแก้ปวดในรายที่มีแผลที่ลิ้นและกระพุ้งแก้มผู้ปกครองหรือผู้เลี้ยงดูเด็กควรเช็ดตัวผู้ป่วยเพื่อลดไข้เป็นระยะ และให้รับประทานอาหารอ่อนๆ รสไม่จัด ดื่มน้ำ น้ำผลไม้และนอนพักผ่อนมากๆ ถ้าเป็นเด็กอ่อนอาจต้องป้อนนมให้แทนการดูดนม เพื่อลดการปวดแผลในปาก ที่สำคัญคือการป้องกันอาการแทรกซ้อนที่อาจรุนแรงถึงเสียชีวิต ตามปกติโรคนี้มักไม่รุนแรง และไม่มีอาการแทรกซ้อน แต่ถ้าเกิดจาเชื้อไวรัสบางชนิด เช่นเอนเทอโรไวรัส 71 อาจทำให้มีอาการรุนแรงได้ จึงควรดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด หากพบมีไข้สูง ซึม ไม่ยอมรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำอาเจียนบ่อย หอบแขนขาอ่อนแรง ชัก ต้องรีบพาไปโรงพยาบาลทันที เพราะอาจเกิดอาการแทรกซ้อนจากภาวะสมองอักเสบกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หรือน้ำท่วมปอดซึ่งจะรุนแรงจนเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะกุล่มเด็กเล็กและเด็กที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องเช่น โรคติดเชื้อเอชไอวี โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวหรือผู้ที่ต้องรับประทานยากดภูมิคุ้มกัน เป็นต้น รายชื่อแพทย์รับคำปรึกษาโรค มือ เท้า ปาก